หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ ประเมินผลงาน 150 วัน ผู้ว่าฯ สุขุมพันธ์
                  เนื่องด้วยวันที่ 15 มิถุนายน นี้ ครบ 150 วัน ในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง
ประเมินผลงาน 150 วัน ผู้ว่าฯ สุขุมพันธ์”  ขึ้น  โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพ
ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,161 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 47.5  และเพศหญิงร้อยละ 52.5
เมื่อวันที่ 9 – 11 มิถุนายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านต่างๆ ของผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ได้ คะแนนเฉลี่ย 4.88
                 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

 
คะแนนเฉลี่ย
ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต
5.45
ด้านศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาเมือง
5.14
ด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
5.03
ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ
4.78
ด้านการจราจรและขนส่งมวลชน
4.44
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4.42
 
             2. ความเห็นต่อสภาพโดยรวมของกรุงเทพมหานคร หลังการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ผู้ว่าฯ กทม.
                 ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ครบ 150 วัน

 
ร้อยละ
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
68.8
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
21.8
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง
9.4
 
             3. หากเปรียบเทียบความคาดหวังเมื่อตอนที่ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ได้รับเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม.
                 กับผลงานที่ปรากฏในขณะนี้ พบว่า

 
ร้อยละ
ดีกว่าที่คาดหวังไว้
7.1
พอๆ กับที่คาดหวังไว้
43.6
แย่กว่าที่คาดหวังไว้
12.9
ไม่ได้คาดหวังไว้
36.3
 
             4. คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร
                 พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 5.27 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

 
คะแนนเฉลี่ย
ความซื่อสัตย์โปร่งใส
6.01
ความขยันทุ่มเทในการทำงาน
5.44
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่
5.16
การปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้
5.11
การปฏิบัติงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม
5.04
ความฉับไวในการแก้ปัญหา
4.84
 
             5. จุดเด่น ในการทำงานของ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่ควรรักษาไว้ คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ซื่อสัตย์สุจริต
42.0
ไม่มีจุดเด่นในการทำงาน
30.0
สุภาพ อ่อนโยน
12.8
มีความคิดริเริ่ม
3.4
อื่นๆ อาทิ ทีมงานดี ตั้งใจทำงาน เป็นต้น
11.8
 
             6. จุดด้อย ในการทำงานของ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่ควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ทำงานช้า
30.6
ไม่มีจุดด้อยในการทำงาน
22.3
ไม่มีผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรม
16.4
ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการแก้ปัญหาจราจร
7.6
ลงพื้นที่น้อย เข้าไม่ถึงประชาชน
5.9
ขาดการประชาสัมพันธ์ผลงาน
3.9
อื่นๆ อาทิ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่มีโครงการใหม่ๆ เป็นต้น
13.3
 
             7. เรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. ดำเนินการโดยเร่งด่วน 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
แก้ปัญหาจราจร
48.7
สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก้ปัญหาค่าครองชีพให้คนกรุงเทพฯ
9.0
สร้างผลงานให้เห็นชัดเจนกว่านี้
8.9
ดูแลเรื่องความสะอาดของถนน ตลาด แม่น้ำ คูคลอง
6.4
ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนกรุงเทพฯ
5.4
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็น
ต่อไปนี้
                      1. คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านต่างๆ ของผู้ว่าฯ กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร
                      2. สภาพโดยรวมของกรุงเทพฯ หลังการปฏิบัติงาน 150 วัน ในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ของ
                          ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร
                      3. เปรียบเทียบความคาดหวังของคนกรุงเทพฯ เมื่อตอนที่ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ได้รับเลือกตั้งเป็น
                          ผู้ว่าฯ กทม. กับผลงานที่ปรากฏในขณะนี้
                      4. คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร
                      5. จุดเด่นในการทำงานของ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่ควรรักษาไว้
                      6. จุดด้อยในการทำงานของ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่ควรปรับปรุงแก้ไข
                      7. เรื่องที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ กทม. ดำเนินการโดยเร่งด่วนในขณะนี้
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก
ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวน 33 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ
บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท
พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สาทร สัมพันธวงศ์ หนองจอก หลักสี่ และ
ห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,161 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.5 และเพศหญิงร้อยละ 52.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม
แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 9 – 11 มิถุนายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 มิถุนายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
552
47.5
             หญิง
609
52.5
รวม
1,161
100.0
อายุ:
 
 
             18 ปี – 25 ปี
327
28.2
             26 ปี – 35 ปี
331
28.5
             36 ปี – 45 ปี
264
22.7
             46 ปีขึ้นไป
239
20.6
รวม
1,161
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
559
48.1
             ปริญญาตรี
550
47.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
52
4.5
รวม
1,161
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
130
11.2
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
288
24.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
308
26.5
             รับจ้างทั่วไป
146
12.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
92
7.9
             อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
197
17.0
รวม
1,161
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776